บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2017

รายละเอียดวรรณคดีเรื่องไกรทอง

รูปภาพ
ยุคสมัย              รัตนโกสินทร์  ,  รัชกาลที่  2   ผู้แต่ง               พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   คำประพันธ์         บทละครนอก

ตัวละคร

ฝ่ายมนุษย์ เศรษฐีเมืองพิจิตร – บิดานางตะเภาแก้ว และนางตะเภาทอง ภรรยาเศรษฐี – มารดานางตะเภาแก้ว และนางตะเภาทอง นางตะเภาแก้ว – พี่สาวของตะเภาทอง นางตะเภาทอง – น้องสาวของตะเภาแก้ว ไกรทอง – บุตรชายขุนไกร ขุนไกร – บิดาไกรทอง อาจารย์คง – อาจารย์ขุนไกร และ ไกรทอง ฝ่ายจระเข้ ท้าวรำไพ – พระอัยกาพญาชาละวัน (ปู่ของชาละวัน) ท้าวโคจร – พระบิดาของพญาชาละวัน พญาชาละวัน – พญาจระเข้หนุ่มเลือดร้อน ผู้สืบทอดนิสัยอันธพาลจากท้าวโคจร นางวิมาลา – ภรรยาพญาชาละวัน นางเลื่อมลายวรรณ – ภรรยาพญาชาละวัน ท้าวพันตา – จระเข้ต่างถ้ำ ศัตรูท้าวโคจร พญาพันวัง – จระเข้ต่างถ้ำ ศัตรูท้าวโคจร

เวลาและสถานที่

                เรื่องไกรทองเป็นวรรณคดีที่ประกอบไปด้วยฉาก  หมู่บ้าน  แม่น้ำ  ใต้บาดาล  ในถ้ำใต้บาดาล  ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ใต้น้ำ  แล้วเมื่อเวลาต่อสู้กันก็จะขึ้นมาบนผิวน้ำ        

แก่นเรื่อง

          ผู้แต่งเห็นถึงความสำคัญของเนื้อเรื่องและสถานที่  ซึ่งมีลักษณะที่เล่าขานกันในหมู่บ้านเป็นตำนานท้องถิ่น มีเค้าความจริงในเนื้อเรื่อง จึงนำมาประพันธ์เป็น “บทละครนอก”

ลักษณะคำประพันธ์

๏ เมื่อนั้น                            โฉมเจ้าไกรทองพงศา สมสู่อยู่ด้วยวิมาลา             สุขาสำราญบานใจ ลืมสังเกตเวทมนตร์ที่ร่ำเรียน     แต่เวียนนอนนั่งเจ็บหลังไหล่ ลืมสองภรรยาแลข้าไท     อิ่มไปด้วยทิพโอชา ร่วมภิรมย์ชมรสสาวศรี     กุมภีล์ผิดอย่างต่างภาษา อยู่เย็นเป็นสุขทุกเวลา     ถึงได้เป็นเจ้าพระยาก็ไม่ปาน

ประวัติผู้เเต่ง

รูปภาพ
              พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุท ธยอกฟ้าจุฬาโลก มหาราชและสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี เมื่อได้สถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมชนกทรงพระกรุณาโปรดโกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคลและเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะทั้งประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี นาฏศิลป์ และวรรณคดี ทรงมีบทพระราชนิพนธ์มากมาย เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ ไกรทอง คาวี บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน (บางตอน) ทำให้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESO) ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยให้ทรงเป็นกวีดีเด่นประจำปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นับว่าเป็นกวีเอกของโลกคนที่ ๓ ที่เป็น คนไทย         พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ สิริพระชนมายุ ๕๘ พรรษา

เนื้อเรื่องย่อไกรทอง

        กาลครั้งหนึ่ง มีถ้ำทองเป็นที่อยู่ของจระเข้ ในถ้ำมีลูกแก้ววิเศษที่ส่องแสงดุจเวลากลางวัน จระเข้ทุกตัวที่เข้ามาในถ้ำจะกลายเป็นมนุษย์ มีท้าวรำไพ เป็นจระเข้เฒ่าผู้ทรงศีล ไม่กินเนื้อมนุษย์และสัตว์ มีบุตรชื่อ ท้าวโคจร และท้าวโคจรมีบุตรชื่อ ชาละวัน วันหนึ่ง ท้าวโคจร เกิดทะเลาะวิวาทกับท้าวพันตาและพญาพันวัง จระเข้ทั้งสามต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ สุดท้ายทั้งสามก็จบชีวิตลงจากบาดแผลที่เกิดจากการสู้รบกัน          หลังจากนั้น พญาชาละวัน บุตรของท้าวโคจร ก็ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองถ้ำบาดาลโดยไม่ไม่ใครกล้าท้าทายอำนาจ และได้จระเข้สาวสองตัวเป็นเมียคือ   วิมาลา กับ เลื่อมลายวรรณ ด้วยความลุ่มหลงในอำนาจ ชาละวันจึงมีนิสัยดุร้าย และต้องการกินเนื้อมนุษย์ และไม่รักษาศีลเหมือนท้าวรำไพผู้เป็นปู่แต่อย่างใด เพราะถือว่าตนเป็นผู้ปกครองถ้ำ มีอำนาจอยากจะทำอะไรก็ได้ ณ เมืองพิจิตร มีพี่น้องคู่หนึ่ง ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐี วันหนึ่งทั้ง 2 ลงไปเล่นน้ำในคลองที่ท่าน้ำหน้าบ้าน กับบ่าวไพร่ด้วยความสนุกสนานอีกหลายคน ในเวลา...

บทสนทนา

      ยกตัวอย่างบทสนทนาของนางวิมาลาที่ได้ตามไกรทองออกจากถ้ำ  เพื่อให้เห็นว่าถึงแม้ตนจะไม่ใช่มนุษย์โดยเต็มตัวแต่ก็สามารถที่จะรักและให้ความสุขแก่ไกรทองได้  ๏ เมื่อนั้น       โฉมเจ้าไกรทองพงศา สมสู่อยู่ด้วยวิมาลา       สุขาสำราญบานใจ ลืมสังเกตเวทมนตร์ที่ร่ำเรียน       แต่เวียนนอนนั่งเจ็บหลังไหล่ ลืมสองภรรยาแลข้าไท       อิ่มไปด้วยทิพโอชา ร่วมภิรมย์ชมรสสาวศรี       กุมภีล์ผิดอย่างต่างภาษา อยู่เย็นเป็นสุขทุกเวลา       ถึงได้เป็นเจ้าพระยาก็ไม่ปาน

ข้อคิดที่ได้รับ

แม้ตนจะเก่งกล้าสามารถและวิเศษขนาดไหน ย่อมมีผู้ที่เหนือกว่าดังคำที่ว่า เหนือฟ้าก็ยังมีฟ้า  ไม่ควรหลายใจและมีภรรยาหลายคน เพราะจะทำให้ครอบครัววุ่นวาย เมื่อมีคู่ครองควรจะรักเดียวใจเดียว ครอบครัวจึงจะเป็นสุข คนเราควรจะรู้จักพอ อย่าโลภมาก ความละโมบและไม่รู้จักพอ นำมาซึ่งความสูญเสีย ความอาฆาตพยาบาททำให้จิตใจไม่เป็นสุขและนำความทุกข์มาให้กับตนเอง

คุณค่าที่ได้จากเรื่องไกรทอง

     ความซื่อสัตย์ที่มีให้แก่คนรัก  ไม่หลายใจ  ไม่เจ้าชู้  ไม่ทำให้คนที่เรารักเสียใจ      ความไม่โลภ ควรพอใจในสิ่งที่ตนเองมี “ไม่มองหาสิ่งที่ขาด  แต่มองในสิ่งที่มีอยู่”  แล้วจะเห็น       ค่าของมันและอยู่ได้อย่างมีความสุข      ความโมโหร้ายและอารมณ์ร้อน  นำมาซึ่งความสูญเสียในหลายๆอย่าง และเป็นบ่อเกิดของ             ความแค้น ความโกรธ ความเกลียด ที่เกิดขึ้นภายในใจเรา      ความมั่นใจในตัวเองที่คิดว่า ตัวเองเก่ง ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้  จนเกิดความประมาท       ในตนเอง และทำให้ผู้ที่มีความแกร่งกว่าเอาชนะ